One world

วันจันทร์-ศุกร์ 09.00-18.00 น.
วันเสาร์ 09.00-13.00 น.

ตำนานป้อมปราการ The Great Fortresses around the World

April 27, 2021 | by One world

ตำนานป้อมปราการ ตำนานความแข็ง ที่เป็นเรื่องเล่าจากรุ่นสู่รุ่น

ตำนานป้อมปราการ มนุษยชาติได้เรียนรู้มาตั้งแต่เนิ่นๆในประวัติศาสตร์ของเราว่า ‘เพื่อปกป้องผืนดินต้องเสริมสร้าง’ จากจุดเริ่มต้นนี้ได้พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างป้อมปราการอันยิ่งใหญ่ของโลกอยู่ตลอดเวลา … จากป้อมปราการที่เป็นกำแพงดินและกำแพงไม้ที่เรียบง่าย พัฒนาไปสู่ โครงสร้างที่ซับซ้อนและสง่างามในยุคกลาง ดินปืนและปืนใหญ่ทำให้โครงสร้างอันล้าสมัยถูกเปลี่ยนแปลงเป็นกำแพงดินในแนวราบ เช่น ป้อมดาวซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นไป… แม้ยุคกลางจะถูกเรียกว่ายุคมืด แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมถอย โดยรวมหลังจากการล่มสลายของอาณาจักรโรมันโบราณ ป้อมปราการที่สวยงามยังคงมีชีวิตอยู่ตลอดหลายศตวรรษ  จากตำนานและจินตนาการที่เต็มไปด้วยป้อมปราการและปราสาทโบราณ เสมือนมีเวทมนตร์บางอย่างที่ดึงดูดนักเดินทางทั่วโลก โครงสร้างที่สูงตระหง่านและสวนที่อุดมสมบูรณ์ ป้อมปราการของกษัตริย์และเหล่าอัศวิน ทำให้เราได้กลับมาเยี่ยมชมโลกของนิทานก่อนนอนในวัยเด็กของเราอีกครั้ง… ตั้งแต่ป้อมปราการบนเทือกเขาหิมะไปจนถึงปราสาทยุคกลางที่เหมือนเทพนิยายในยุโรปตะวันออก จากป้อมปราการที่แข็งแกร่งของชาวตะวันตกไปจนถึงป้อมปราการที่ยิ่งใหญ่ของโลกตะวันออกที่สะท้อนความงามของธรรมชาติอันน่าหลงใหลเหล่านี้ และจากนี้ไปเราจะได้พบกับป้อมปราการโบราณที่ได้ผ่านการทดสอบของกาลเวลานับร้อยนับพันปีเพื่อรอให้เรามาเยี่ยมชมเพื่อเติมเต็มเรื่องราวจากหนังสือนิทานแห่งโลกจินตนาการที่จะทำให้เราหลงเชื่ออย่างเต็มหัวใจ… 

#1 The Rock of Gibraltar

มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในปัจจุบันเช่นเดียวกับในสมัยโบราณ ป้อมปราการที่ยิ่งใหญ่ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์เป็นเวลานับพันปี The Rock of Gibraltar หรือเรียกง่ายๆว่า ‘The Rock’ ดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษในยิบรอลตาร์ ปัจจุบันพื้นที่ส่วนบนของเดอะร๊อคส่วนใหญ่เป็นเขตอนุรักษ์ลิงแสมบาร์บารี… ในสมัยโบราณเดอะร๊อคถูกเรียกว่าเป็นหนึ่งในเสาหลักแห่งเฮอร์คิวลิส แต่ชาวโรมันเรียกมันว่า ‘Mons Calpe’ ส่วนเสาอื่นๆ อย่าง Mons Abyla หรือ Jebel Musa ตั้งอยู่ทางฝั่งแอฟริกาของช่องแคบยิบรอลตาร์   ‘เดอะร็อค’ เป็นที่ตั้งของปราสาทมัวร์ที่เก่าแก่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองยิบรอลตาร์และสเปนในอดีตกว่า 700 ปี ปราสาทถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ.711 และยิบรอลตาร์ตกเป็นของของสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1704 ในช่วงสงครามการสืบราชสมบัติของสเปน ปัจจุบันยังคงเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของอังกฤษ  เมื่อยืนอยู่บนจุดสูงสุดของ ‘เดอะร๊อค’ และคุณรู้สึกราวกับว่าคุณอยู่ในจุดสูงสุดของโลก ยุโรปและแอฟริกาอยู่ใกล้คุณ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและมหาสมุทรแอตแลนติกอยู่ขนาบข้างทั้งสองด้านเสมือนยืนอยู่ด้านหน้าประตูสู่มหาสมุทรอันกว้างใหญ่
การเดินทางสู่จุดสูงสุดของ ‘เดอะร๊อค’ มอบรางวัลอันน่าทึ่งคือมุมมองจากความสูง 1,400 ฟุต (426 เมตร) คุณจะเห็นแนวชายฝั่งของแอฟริกาที่ซึ่งน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติกไหลมาบรรจบกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พื้นที่คอสตาเดลโซลทางใต้ของสเปน เมืองด้านล่าง อ่าวและท่าเรือ รวมถึงชายหาดสีขาวที่ทอดยาวสุดสายตา 

#2  Rumeli Castle Rumelihisari, Istanbul  

ป้อมรูเมลีฮิซารี เป็นป้อมปราการในยุคกลางที่สร้างโดยพวกออตโตมานเพื่อใช้ยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิล ผลงานการของสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 หรือ เมห์เมตผู้พิชิ ซึ่งสร้างขึ้นระหว่างปีค.ศ.1451 ถึง 1452 เพื่อควบคุมการค้าและการทหาร และเตรียมพร้อมสำหรับการปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล ป้อมรูเมลีฮิซารีตั้งอยู่บนชายฝั่งของช่องแคบบอสฟอรัสในจุดที่แคบที่สุดโดยมีระยะประมาณ 660 เมตร อยู่ตรงข้ามกับป้อมปราสาท อนาโดลู ฮิซาริ (Anadolu Hisarı) บนฝั่งเอเชียด้านตรงข้าม ที่สร้างขึ้นในปี 1394 เพื่อป้องกันความช่วยเหลือทางทหารและเศรษฐกิจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่มาจากทางทะเลเหนือและทะเลดำ โดยป้อมปราการขนาดใหญ่สร้างเสร็จในเวลาเพียงสี่เดือน เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ควบคุมการสัญจรทั้งหมดบนช่องแคบบอสฟอรัสและตัดเมืองคอนสแตนติโนเปิลออกจากทางทะเลเหนือ ด้วยความอดอยากจากการถูกปิดล้อมทำให้คอนสแตนติโนเปิลจะล่มสลายในปี 1453   ป้อมปราการแห่งนี้ถูกใช้เป็นด่านศุลกากรที่ค่อนข้างใหญ่และน่าประทับใจสักพักหนึ่ง จากนั้นก็ใช้เป็นค่ายทหารต่อมาเป็นคุก และในที่สุดก็เป็นโรงละครกลางแจ้ง แต่ไม่เคยใช้เป็นป้อมปราการอีกเลย  ป้อมรูเมลีฮิซารีประกอบด้วยหอคอยขนาดใหญ่สามแห่ง และหอคอยขนาดเล็กอีกสิบสามแห่งซึ่งทั้งหมดอยู่ในสภาพดีมาก สถาปนิกของปราสาทคือสถาปนิก Müslihiddin และเมื่อสร้างเสร็จ ชื่อของป้อมแห่งนี้คือ Boğazkesen (Strait Cutter) หรือ ‘เครื่องตัดคอ’

#3 Fort Bourtange

‘ป้อมปราการที่ไม่เคยถูกพิชิต’ …ในศตวรรษที่ 15 เป็นยุคของดินปืนและปืนใหญ่เข้ามามีอำนาจในสนามรบรูปแบบใหม่ ป้อมปราการในยุโรปได้รับการพัฒนาให้มีลักษณะคล้ายกับดาว ซึ่งออกแบบมาโดยเฉพาะให้ครอบคลุมกันและกันโดยมีคูน้ำกว้างป้องกันอีกชั้นหนึ่ง กำแพงป้องกันถูกทำให้ต่ำลงและหนาขึ้น และได้รับการป้องกันด้วยตลิ่งที่ลาดเอียงเพื่อให้กำแพงทั้งหมดถูกซ่อนจากการยิงปืนใหญ่ในแนวนอน ป้อมปราการใหม่ได้รับความนิยมมากจนการออกแบบได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วจากชาติอื่นๆ จนถึงอินเดียและญี่ปุ่น
พื้นที่ทางตอนเหนือของฮอลแลนด์ใกล้ชายแดนเยอรมันเป็นที่ตั้งของป้อม ‘บูร์แตงจ์’ Fort Bourtange หรือ ‘ป้อมดาว’ ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านบูร์แตงจ์ เมืองโกรนิงเก้น ประเทศเนเธอร์แลนด์ ภายใต้คำสั่งของเจ้าชายวิลเลียมแห่งออเรนจ์ William the I of Orange ในช่วงสงครามแปดสิบปี เกิดขึ้นระหว่างปีค.ศ.1566-1648 ชาวสเปนมีอำนาจควบคุมโกรนินเกนและถนนที่นำไปสู่เยอรมนี เจ้าชายวิลเลียมเห็นว่าจำเป็นต้องตัดขาดการสื่อสารระหว่างโกรนินเกนและเยอรมนี พระองค์ตัดสินใจว่าจะเป็นการดีที่สุดที่จะสร้างป้อมปราการบนเส้นทางบูร์แตงจ์ ซึ่งเป็นถนนสายหลักที่นำไปสู่เยอรมนี  
ป้อมดาวบูร์แตงจ์ ถูกขยายออกไปในทศวรรษต่อๆ เมื่อสงครามสิ้นสุดลงจึงตกอยู่ในสภาพทรุดโทรม ในปีค.ศ.1681 คูน้ำรอบๆ ทั้งหมดก็แห้งลงเพราะเกษตรกรในท้องถิ่นเปลี่ยนช่องทางน้ำเพื่อระบายน้ำออกจากป้อมเพื่อทำการเกษตร ในที่สุดในปี 1851 เมืองป้อมบูร์แตงจ์ก็ถูกเปลี่ยนเป็นหมู่บ้านกว่า 100 ปี ต่อมาในปี 1960 รัฐบาลท้องถิ่นตัดสินใจที่จะบูรณะป้อมปราการเก่าให้กลับมามีลักษณะในเหมือนในปี 1740-1750 และป้อมโบราณแห่งได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน

#4  Chittorgarh Fort

ป้อมจิตตอร์การห์ เป็นสัญลักษณ์ของ ความกล้าหาญ และเกียรติยศของราชวงศ์ราชปุต ที่สร้างขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 8 ถึง 16 ในรูปแบบสถาปัตยกรรมที่หลากหลายที่ถูกปกคลุมไปด้วยเรื่องราวโศกนาฎกรรมและตำนาน นี่คือเป็นป้อมปราการที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย เชื่อกันว่าตั้งชื่อตามบุคคลที่สร้างคือจิตรกรดาโมริแห่งราชวงศ์โมริยะ กล่าวกันว่าแหล่งน้ำที่ตั้งอยู่ติดกับป้อมนี้สร้างขึ้นโดย ‘ภีมะ’ วีรบุรุษในตำนานของมหากาพย์มหาภารตะยุทธ์  ประตูป้อมหลายแห่งตั้งชื่อตามตัวละครในมหากาพย์รามายณะ เช่น ประตูพระพิฆเนศ ประตูหนุมาน ประตูพระลักษมัน และประตูพระราม ป้อมปราการถูกโจมตีสามครั้ง   ครั้งแรกในปี 1303 ป้อมแห่งนี้ถูกโจมตีโดย สุลต่านอะลาอุดดิน คิลจี (Alauddin Khilji) กษัตริย์นักรบมุสลิมที่ยิ่งใหญ่ เนื่องจากเพราะเขาต้องการป้อมปราการที่แข็งแกร่งแห่งนี้ หรืออาจเพียงเพราะเขาต้องการแค่ “ปัทมาวตี’ Padmavati ราชินีที่ผู้เลอโฉมของกษัตริย์ รัตนสิงห์ กษัตริย์ราชปุตแห่งจิตตอร์การห์ ประชาชน 30,000 คน รวมถึงกษัตริย์ รัตนสิงห์ สิ้นพระชนม์ในการต่อสู้ และพระนางปัทมาวตีและผู้หญิงคนอื่นๆ ก็ฆ่าตัวตายโดยการกระโดดเขากองไฟเผาตัวเองเพื่อปกป้องเกียรติยศของพวกเขา ครั้งที่สองป้อมถูกโจมตีโกยสุลต่านบาฮาดูร์ชาห์แห่งคุชราตในปี 1535 และครั้งสุดท้ายในปี 1567 ถูกโจมตีโดยจักรพรรดิโมกุลอัคบาร์เพื่อพิชิตมหาราณาอุไดซิงห์ ป้อมจิตตอร์การห์เป็นที่ตั้งของพระราชวังหลายแห่งเช่น Rana Kumbha Palace, Fateh Prakash Palace, Tower of Victory และ Rani Padmini’s Palace โครงสร้างทั้งหมดนี้มีความสำคัญต่อลักษณะทางสถาปัตยกรรม นอกจากนี้ยังมีวัดหลายแห่งภายในป้อม วัดเชนซึ่งขนาดใหญ่และซับซ้อน ปัจจุบันป้อมจิตตอร์การห์และป้อมเนินเขาอื่นๆ ของรัฐราชสถานได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี 2013

#5 Dover Castle 

กว่า 900 ปีที่ผ่านมาที่ ‘ปราสาทโดเวอร์’ ตั้งเด่นอยู่บนหน้าผาสีขาว ในเมืองเคนท์ ประเทศอังกฤษ จากป้อมโบราณของชาวโรมันมาจนถึงสงครามเย็น ในปี 1066 ดยุควิลเลียมแห่งนอร์มังดีสร้างป้อมปราการที่น่าทึ่งนี้ซึ่งเป็นหนึ่งในปราสาทนอร์มันแห่งแรกในอังกฤษ ในปีค.ศ.1179 กษัตริย์เฮนรีที่ 2 ได้สร้างหอคอยอันยิ่งใหญ่ในยุคกลาง ซึ่งกลายเป็น “หัวใจแห่งปราสาท” เนื่องจากสถานที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ทำให้ปราสาทมีบทบาทสำคัญในการปกป้องประเทศ เช่น การปิดล้อมของฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 12 สงครามนโปเลียนในศตวรรษที่ 18 และบทบาทสำคัญของปราสาทในสงครามโลกครั้งที่ 2เราเดินไปตามเชิงเทินแนวป้องกันอันยิ่งใหญ่และจินตนาการถึงป้อมปราการป้อมปราสาทยุคกลางที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษ และเป็นหนึ่งในป้อมปราการที่สำคัญและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากที่สุด ปราการแห่งนี้ที่ยังคงตั้งตระหง่านอย่างน่าเกรงขามมานานนับร้อยปี ปราสาทโดเวอร์มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ในฐานะ ‘กุญแจสู่อังกฤษ’ เนื่องจากเป็นปราการด่านหน้าที่สำคัญในการปกป้องหมู่เกาะบริเตน (สกอตแลนด์ เวลส์ และอังกฤษ) และได้รับการยอมรับว่าเป็นค่ายทหารใต้ดินแห่งแรกและแห่งเดียวถูกสร้างขึ้นที่นี่ในช่วงสงครามกับกองทัพของจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อุโมงค์ใต้ดินได้ถูกเปลี่ยนเป็นศูนย์บัญชาการและโรงพยาบาล และปราสาทแห่งนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันการโจมตีจากกองทัพเยอรมันในฝรั่งเศส ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่ 2 อุโมงค์ของปราสาทโอเวอร์ เป็นศูนย์บัญชาการของการอพยพครั้งใหญ่ของการปิดล้อมที่ดันเคิร์ก (Dunkirk) หรือสมรภูมิ ‘ดันเคิร์ก’ ในปี 1940 ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติการกู้ภัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
ปัจจุบันนี้สถานที่แห่งนี้จึงถูกจัดให้เป็นสถาปัตยกรรมที่มีชีวิตและเป็นอนุสาวรีย์ที่มีความสำคัญอย่างมหาศาลของโลกเลยทีเดียว

#6  Prague Castle

ปราสาทปราก “ป้อมปราการสไตล์บาร็อคของเช็ก” ก่อตั้งขึ้นในราวในศตวรรษที่ 9 (ค.ศ.870) โดยเจ้าชายโบชิโวจแห่งราชวงศ์พรีมีสโลวีซี ใช้สำหรับเป็นที่ประทับของกษัตริย์โบฮีเมียมายาวนานกว่า 1,000 ปี ต่อมากษัตริย์เวนเซสลาสได้เพิ่มอาคารทางศาสนาอีกสองแห่งภายในบริเวณนี้ ได้แก่ มหาวิหารเซนต์จอร์จและมหาวิหารเซนต์วิตัสซึ่งได้กลายเป็นสถานที่พำนักสุดท้ายของกษัตริย์โบฮีเมียนหลายองค์  
จากข้อมูลใน Guinness Book of World Records ปราสาทปรากเป็นปราสาทที่เชื่อมต่อกันที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีพื้นที่เกือบ 70,000 ตารางเมตร รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในมรดกโลกขององค์การยูเนสโกในปี 1992 ประกอบด้วยพระราชวังขนาดใหญ่ ป้อมปราการ และวิหารในรูปแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ทั้งโรมาเนสก์และแบบกอธิค ต่อมาตัวปราสาทถูกทิ้งร้างเป็นเวลาหลายสิบปีแม้ว่าโบสถ์และป้อมรอบๆ จะยังคงใช้งานอยู่ จนกระทั่งถึงปี 1485 งานก่อสร้างก็เริ่มขึ้นอีกครั้ง ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มป้อมปราการเพิ่มเติม  
หลังจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ในช่วงกลางทศวรรษ 1500 ปราสาทปรากได้รับการบูรณะอีกครั้ง แต่จะได้รับความเสียหายอย่างหนักในช่วงการปฏิวัติโบฮีเมียนและการต่อสู้กับกองทัพสวีเดนที่ได้เข้ามาปล้นสะดมในปี 1648 จนกระทั่งปี 1848 ปราสาทได้รับการบูรณะครั้งใหญ่อีกครั้งภายใต้การแนะนำของจักรพรรดินีมาเรียเทเรซ่า 
บางทีหนึ่งในคืนที่มืดมนที่สุดในประวัติศาสตร์ของป้อมปราสาทแห่งนี้คือคืนวันที่ 15 มีนาคม 1939 หลังจากยึดครองปราก อดอล์ฟฮิตเลอร์ใช้เวลาทั้งคืนที่ปราสาทด้วยความภาคภูมิใจกับชัยชนะ หลังจากฮิตเลอร์ออกจากเมืองไม่นาน นายพล รีนฮาร์ต เฮย์ดริช ซึ่งเปรียบเสมือนมือซ้ายของฮิตเลอร์ ที่ถูกส่งให้ไปปกครองโบฮีเมียและโมราเวีย ก็ถูกโจมตีและเสียชีวิตในปีค.ศ.1942 โดยเป็นส่วนหนึ่งของ ‘ปฏิบัติการแอนโธรพอยด์’ (Operation Anthropoid) ซึ่งเป็นรหัสนามสำหรับการลอบสังหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง 

#7 ป้อมอัลซูบาราห์ Al Zubarah กาตาร์

ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองท่าที่คึกคักไปด้วยชาวประมงและพ่อค้า เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีที่สุดของเมืองการค้าอ่าวในศตวรรษที่ 18 และ 19 ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก ในปี 2013 ป้อมอัลซูบาราห์ถูกสร้างขึ้นในปี 1938 เป็นป้อมปราการที่อายุน้อยที่สุดและโดดเด่นที่สุดในบริเวณนี้
เมืองชายฝั่งอัลซูบาราห์ ที่มีกำแพงล้อมรอบในอ่าวเปอร์เซียเจริญรุ่งเรืองในฐานะศูนย์กลางการค้าและไข่มุกในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 ก่อนที่มันจะถูกทำลายในปี 1811 และถูกทิ้งร้างในต้นปี 1900
เมืองอัลซูบาราห์ก่อตั้งโดยพ่อค้าจากคูเวตมีเส้นทางการค้าข้ามมหาสมุทรอินเดีย อาระเบีย และเอเชียตะวันตก เมืองอัลซูบาราห์ส่วนใหญ่ถูกทำลายในปี 1811 และในที่สุดก็ถูกทิ้งร้างในต้นศตวรรษที่ 20 หลังจากนั้นอาคารหินและปูนที่เหลืออยู่ก็พังทลายลงและค่อยๆ ถูกปกคลุมด้วยชั้นทราย โดยพายุทรายที่พัดมาได้ปกป้องซากของพระราชวัง มัสยิด ถนนหนทาง บ้าน และกระท่อมของชาวประมงให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
เมืองอัลซูบาราห์เจริญรุ่งเรืองในฐานะศูนย์กลางการค้าและไข่มุกเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็นำไปสู่การพัฒนารัฐอิสระขนาดเล็กที่เจริญรุ่งเรืองนอกการควบคุมของจักรวรรดิออตโตมัน ยุโรป และเปอร์เซีย และนำไปสู่การเกิดขึ้นของรัฐอ่าวยุคปัจจุบันในที่สุด

#8 Belogradchik Fortresses บัลแกเรีย

‘ป้อมเบโลกราดชิค’ หรือ ป้อมคาเลโต ตั้งอยู่บนเนินทางทิศเหนือของเทือกเขาเบโลกราดชิค ซึ่งประกอบด้วยหินทรายรูปทรงแปลกตา หินบางก้อนมีความสูงถึง 200 เมตร หินทรายที่มีรูปร่างแปลกประหลาดก่อที่ตัวขึ้นเมื่อกว่า 200 ล้านปีก่อนหลังจากที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของก้นทะเล
ป้อมปราการมีอายุย้อนกลับไปในสมัยโรมัน ทั้งป้อมปราการและกลุ่มโขดหินต่างที่แปลกตาน่าประทับใจและมีทิวทัศน์ที่สวยงามของบริเวณโดยรอบ ชาวโรมันฉลาดพอที่จะเลือกจุดยุทธศาสตร์ที่แทบไม่ต้องสร้างเลยเนื่องจากภูมิทัศน์ที่เป็นแท่งหินตามธรรมชาติอันเป็นแนวป้องกันที่มั่นคงในศตวรรษที่ 14 ซาร์ อีวาน ซาร์ซิเมียร์ แห่งบัลแกเรีย ได้ขยายป้อมปราการเก่าและสร้างป้อมรักษาการณ์ก่อนหมู่หินที่มีอยู่ ป้อมแห่งนี้กลายเป็นฐานที่มั่นที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค ในตอนท้ายของศตวรรษนี้ป้อมปราการเบโลกราดชิคถูกยึดโดยพวกออตโตมาน
ป้อมปราการต้องได้รับหน้าที่ทางทหารที่ยากขึ้นเพราะในเวลานั้นจักรวรรดิออตโตมันกำลังทำสงครามเพื่อแสวงหาดินแดนใหม่ในยุโรป ดังนั้นจึงบังคับให้ผู้ปกครองหลายคนรวมทั้งชาวบัลแกเรียต้องเสริมสร้างระบบป้องกันของตน ในระหว่างการปกครองของออตโตมัน ป้อมปราการได้รับการสร้างขึ้นใหม่และเสริมกำลังอีกหลายครั้ง
ป้อมปราการแห่งนี้ถูกใช้งานครั้งสุดท้ายในปี 1855 ในสงครามเซอร์เบีย – บัลแกเรีย


The Great Fortresses around the World’ #9 ป้อมมาซาดา Masada Fort, กรุงเยรูซาเล็ม –  ป้อมปราการอันสง่างามซึ่งได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของชาวยิว ในฐานะฐานที่มั่นสุดท้ายของชาวยิวที่ต่อต้านการรุกรานของโรมันถัดจากการล่มสลายของเยรูซาเล็ม ป้อมปราการตั้งอยู่บนหน้าผาหินอันโดดเดี่ยวทางตะวันตกสุดของทะเลทรายจูดีน ‘Judean’ เวลาผ่านไปกว่าสองพันปีนับตั้งแต่การล่มสลายของป้อมปราการมาซาดา แต่สภาพอากาศในภูมิภาคและความห่างไกลได้ช่วยรักษาซากของเรื่องราวที่ไม่ธรรมดาเอาไว้
ป้อมปราการหินโบราณแห่งนี้ตั้งอยู่สูงเหนือทะเลเดดซีบนเนินหินเมซา ปัจจุบันเป็นอุทยานแห่งชาติของอิสราเอล มีซากปรักหักพังที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงประวัติศาสตร์ของอาณาจักรอิสราเอลโบราณและความกล้าหาญของผู้คนเมื่อเผชิญกับการโจมตีของโรมัน
ป้อมปราการแห่งมาซาดาสร้างขึ้นระหว่าง 37 ถึง 31 ก่อนคริสตศักราช โดยพระเจ้าเฮโรดมหาราช กษัตริย์โรมันแห่งยูเดีย และได้ใช้ป้อมปราการแห่งนี้ให้เป็นที่หลบภัยของตนเอง โดยภายในมีกำแพงล้อมรอบ โกดังเก็บน้ำขนาดใหญ่ ค่ายทหาร พระราชวังและคลังอาวุธประมาณ 75 ปีหลังจากการสิ้นพระชนม์พระเจ้าเฮโรดมหาราช กลุ่มกบฏชาวยิวที่ต่อต้านชาวโรมันได้เข้ายึดครองป้อมปราการแห่งนี้ จักรพรรดินีโรมอบหมายให้เวสปาเซียนและไททัสบุตรชายของเขาทำการปราบกบฏ กองทัพโรมันได้นำกำลังเข้าปิดล้อมบริเวณยอดหน้าผาของมาซาดาซึ่งกลุ่มกบฏชาวยิวกลุ่มสุดท้ายได้ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางซากป้อมปราการในพระราชวังของกษัตริย์เฮโรด
ในศตวรรษที่ 20 Masada กลายเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญสำหรับรัฐยิวสมัยใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นสถานที่แสวงบุญสำหรับขบวนการเยาวชนและสมาชิกกลุ่มฮากานาห์ ในปี 1949 เมื่อสิ้นสุดสงครามประกาศอิสรภาพ ธงของอิสราเอลถูกยกขึ้นในการประชุมสุดยอดของมาซาดา สถานที่แห่งนี้ได้รับการตรวจสอบและสำรวจโดย Shemariyahu Gutman และในปี 1963 การขุดค้นเต็มรูปแบบเริ่มขึ้นภายใต้การดูแลของศาสตราจารย์ Yigael Yadin โดยได้รับความช่วยเหลือจากอาสาสมัครจากทั่วทุกมุมโลก
‘ป้อมมาซาดาได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี 2001’


The Great Fortresses around the World #10 ป้อมราสนอฟ  Rasnov Fortress, โรมาเนีย  – ป้อมปราการแซ็กซอนสมัยศตวรรษที่ 14 ตั้งอยู่บนยอดเขาหินในเทือกเขาคาร์พาเทียน ซึ่งอยู่เหนือเมืองราสนอฟ 650 ฟุต ป้อมปราการนี้สร้างขึ้นโดยอัศวินทูโทนิกเพื่อป้องกันพวกทาร์ทาร์ หรือ มองโกล ที่รุกรานเข้ามา และต่อมาได้ขยายใหญ่ขึ้นโดยชาวแซกซอน
ป้อมราสนอฟตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าที่เชื่อมระหว่างทรานซิลเวเนียและวาลาเคีย แตกต่างจากป้อมปราการแซกซอนอื่นๆ ตรงที่ได้รับการออกแบบให้เป็นสถานที่หลบภัยในช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน ด้วยเหตุนี้จึงมีบ้านอย่างน้อย 30 หลังโรงเรียนโบสถ์และอาคารอื่นๆ มากกว่าหมู่บ้านทั่วๆ ไป ระบบป้องกันรวมถึงหอคอยเก้าแห่ง ป้อมปราการสองแห่ง และสะพานชัก ป้อมปราการล้อมรอบด้วยเนินสูง 500 ฟุตทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก
ตามตำนานท้องถิ่นกล่าวว่านักโทษชาวออตโตมันสองคนถูกบังคับให้ขุดบ่อน้ำผ่านหินแข็งใจกลางป้อมปราการ พวกเขาได้รับคำสัญญาว่าจะให้อิสรภาพเมื่อบ่อสร้างเสร็จ การทำงานบนบ่อน้ำลึก 470 ฟุตเริ่มขึ้นในปี 1623 และใช้เวลา 17 ปีจึงจะเสร็จสมบูรณ์ และผู้คนไม่จำเป็นต้องออกไปนอกประตูป้อมเลยในระหว่างการถูกปิดล้อม  
การปิดล้อมป้อมรานอฟ ครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นในปี 1690 ระหว่างการรุกรานของออตโตมันครั้งสุดท้ายที่ทรานซิลเวเนีย ป้อมรานอฟได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ในปี 1718 และได้รับการสร้างขึ้นใหม่ในปีถัดไป ความเสียหายครั้งใหญ่ครั้งต่อมาเกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากแผ่นดินไหวในปี 1802 ป้อมปราการแห่งนี้ถูกใช้เป็นสถานที่หลบภัยครั้งสุดท้ายในช่วงการปฏิวัติในปี 1848 ป้อมรานอฟถูกใช้งานจนถึงปี 1850 และถูกทิ้งร้างหลังจากนั้น
ปัจจุบันป้อมปราการรานอฟได้รับการบูรณะให้กลับมารุ่งเรืองดั่งในยุคอดีต และเฝ้ารอคอยนักเดินทางมาเยือนป้อมโบราณแห่งนี้อีกครั้ง


The Great Fortresses around the World #11 ป้อมนิซวา  Nizwa Fort, โอมาน –  นิซวาเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในโอมาน และยังเป็นเมืองหลวงของโอมานในศตวรรษที่ 6 และ 7 ตั้งอยู่ท่ามกลางต้นอินทผาลัมอันเขียวชอุ่มทางตอนเหนือของประเทศ ใช้เวลาสร้างถึง 12 ปี ครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางทางการค้าศาสนาการศึกษาและศิลปะ บริเวณที่ตั้งของเมืองอยู่บนพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญซึ่งเป็นจุดตัดของเส้นทางที่เชื่อมระหว่างภายในกับมัสกัตและด้านล่างของซุฟาร์ Dhofar ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงสำหรับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ
ป้อมนิซวาเป็นปราสาทและป้อมปราการโบราณในภูมิภาคอาดาคิลิยะห์ มีลักษณะกลมใหญ่เป็นเอกลักษณ์ ความสูงถึง 24 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 43 เมตรและเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 36 เมตร ป้อมนิซวามีลักษณะเฉพาะต่างจากในป้อมอื่น ๆ ในโอมานเนื่องจากรูปทรงกระบอกของหอคอยหลักซึ่งเป็นหอคอยที่ใหญ่ที่สุดในป้อมในโอมาน ป้อมนิซวามีหลุมเจ็ดแห่ง เรือนจำหลายแห่ง หอคอยหลักมีกลไกการป้องกันที่โอมานเคยใช้ในอดีต เช่น หลุมพรางกับดัก และช่องเปิดหลายช่องสำหรับประจำการของนักสู้ที่ปกป้องป้อม
ป้อมนิซวาสร้างโดยอิหม่ามสุลต่านบินซาอิฟอัลยาริบีในกลางศตวรรษที่สิบเจ็ด อิหม่ามคนนี้เองที่ขับไล่ชาวโปรตุเกสออกจากโอมาน


The Great Fortresses around the World #12 ป้อมเอลมอร์โร El Morro Fort, เปอร์โตริโก –  สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 ก่อตั้งขึ้นในปี 1521 โดยผู้ตั้งถิ่นฐานชาวสเปน ป้อมปราการแห่งแรก La Fortaleza (The Fortress) เริ่มก่อสร้างในปี 1533 เดิมถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการโจมตีทางทะเลและสามารถต้านทานสงครามโลกสองครั้งและการต่อสู้อื่น ๆ อีกมากมาย และปัจจุบันทำหน้าที่เป็นคฤหาสน์ของผู้ว่าการรัฐ
Castillo San Felipe del Morro หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ป้อมเอลมอร์โร เป็นป้อมที่สองที่สร้างขึ้นบนเกาะเล็กๆ ซึ่งปัจจุบันคือ Old San Juan และ Puerta de Tierra การก่อสร้างของป้อมเอลมอร์โร เริ่มขึ้นในปี 1539-1790
ในปี 1898 สืบเนื่องจากสงครามสเปน – อเมริกาเกาะได้เปลี่ยนมือจากสเปนเป็นสหรัฐอเมริกา ป้อมเอลมอร์โรถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของป้อมบรูก Fort Brooke และใช้เป็นที่ตั้งทางทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง ในปี 1961 กองทัพสหรัฐฯได้ปลดประจำการเอลมอร์โรและส่งต่อไปยังกรมอุทยานแห่งชาติเพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์
ป้อมเอลมอร์โรและเมืองเก่าซานฮวนที่มีกำแพงล้อมรอบได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี 1983


The Great Fortresses around the World #13 ป้อมปราการโอยันไทตำโบ Ollantaytambo, เปรู –  เตรียมตัวให้พร้อมเพื่อสำรวจป้อมปราการที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งของวัฒนธรรมอินคา ค้นพบประวัติศาสตร์ที่ซ่อนซากปรักหักพังของป้อมปราการศิลา ‘โอยันไทตำโบ’ กับเราและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่น่าอัศจรรย์ในหุบเขาศักดิ์สิทธิ์ของชาวอินคา ‘Sacred Valley of the Incas’
โอยันไทตำโบเป็นที่ดินแดนของจักรพรรดิปาชาคุติ (Emperor Pachacuti) แห่งจักรวรรดิอินคา ซึ่งเป็นดินแดนอันเป็นที่ตั้งของป้อมปราการสมัยศตวรรษที่ 15 แห่งนี้ที่ตั้งตระหง่านอยู่เหนือเมืองเล็กๆ ที่มีชื่อเดียวกันเป็นสถานที่เกิดการสู้รบที่มีชื่อเสียง และมันเป็นการต่อสู้เพียงครั้งเดียวที่อินคาชนะกองทัพสเปนที่รุกรานได้สำเร็จ
ป้อมปราการโอยันไทตำโบ ยังได้ชื่อว่าเป็นประตูสู่ มาชูปิชู Machu Picchu ชาวพื้นเมืองเรียก ‘โอยันไทตำโบ’ ว่า ‘Ollanta’ ที่ซึ่งเป็นทั้งวัดและป้อมปราการที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีที่สุดในเปรู ซากปรักหักพังของป้อมปราการแห่งนี้ยังคงรักษาความลึกลับมาหลายศตวรรษ  
เมื่อสเปนมาถึงในเทือกเขาแอนดีสในช่วงต้นยุค 1530 ซึ่งเป็นช่วงที่สเปนพิชิตเปรู Manco Inca Yupanqui ผู้นำการต่อต้านชาวอินคาใช้ที่นี่เป็นป้อมปราการ ต่อต้านกองทัพสเปน และสามารถขับไล่กองทัพสเปนได้ในปี 1536
อย่างไรก็ตามกองทัพสเปนก็ยังนำกองทัพเขามายึดเมืองและมีชัยชนะเหนือชาวอินคาได้สำเร็จในปีเดียวกัน


The Great Fortresses around the World #14 Alcazar of Toledo – “ป้อมปราการแห่งโทเลโด” ป้อมปราการหินที่ตั้งอยู่ในส่วนที่สูงแห่งหนึ่งในย่านเมืองเก่าของโทเลโด อาคารทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีหอคอยสูง 4 ด้านตั้งตระหง่านอยู่บนเนินเขาที่มองเห็นทิวทัศน์มุมกว้างของเมือง สร้างขึ้นครั้งแรกในศตวรรษที่สามโดยจักรวรรดิโรมัน ป้อมปราการมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของสเปน
ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาอาคารนี้มีวัตถุประสงค์หลายประการรวมถึงใช้เป็นปราสาท ป้อมปราการ คุก กองบัญชาการทหาร และที่ประทับของกษัตริย์ ป้อมปราการแห่งโทเลโดได้รับการบูรณะภายใต้กษัตริย์อัลฟรองโซที่ 6 แห่งเลออนและกัสติยา และพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 10 แห่งกัสติยา
ในช่วงศตวรรษที่ 13 ในปี 1545 ในขณะที่กษัตริย์ชาร์ลที่ 1 ปกครองจักรวรรดิสเปนและยังเป็นพระเจ้าชาร์ลที่ 5 จักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้มอบหมายให้สถาปนิก Alonso de Covarrubias เปลี่ยนป้อมปราการให้เป็นที่อยู่อาศัย การดัดแปลงทั้งหมดนี้อธิบายได้ว่าเหตุใดป้อมปราการแห่งนี้จึงมีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบผสมทั้งตัวอาคารแบบเรอเนสซองส์และมีซุ้มประตูแบบโรมัน
ในปี 1887 ป้อมปราการได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ซึ่งเริ่มขึ้นในห้องสมุดและลุกลามไปทั่วทั้งอาคารอย่างรวดเร็วและเกือบจะทำลายมันทั้งหมด
ในช่วงสงครามกลางเมืองสเปนในศตวรรษที่ 20 (1936-1939) ป้อมปราการแห่งโทเลโดถูกยึดครองโดยกองกำลังกบฏชาตินิยมฟรังโกและถูกโจมตีและทำลายโดยกองกำลังของพรรครีพับลิกันในที่มีชื่อเสียง หลังสงครามกลางเมืองการสร้างอาคารใหม่เริ่มขึ้นในปี 1940 จนกระทั่งเสร็จสิ้นในปลายทศวรรษ 1950
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของห้องสมุด Castilla La Mancha และพิพิธภัณฑ์กองทัพบก ห้องโถงจำนวนมากมีการจัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์ของเมืองโทเลโด ยิ่งไปกว่านั้นประวัติศาสตร์การทหารของมันยังคงสะท้อนให้เห็นด้วยรูกระสุนจากสงครามกลางเมืองที่ฝังอยู่ในกำแพงอัลคาซาร์


The Great Fortresses around the World #15 The Baba Vida Fortress  – ป้อมปราการ Babini Vidini Kuli หรือที่เรียกว่าป้อมบาบา วีดา ‘Baba Vida Fortress’ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำดานูบ ทางตอนเหนือของเมืองวิดิน สร้างขึ้นครั้งแรกในศตวรรษที่ 10 บนยอดซากปรักหักพังของหอสังเกตการณ์โรมันแห่งโบโนเนียซึ่งสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 1 การก่อสร้างปราสาทในยุคกลางเริ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 10 แต่ในช่วงจักรวรรดิบัลแกเรียที่สอง (ปลายศตวรรษที่ 12 – 14) ได้มีการก่อสร้างขึ้นอีกครั้ง กษัตริย์บัลแกเรียองค์สุดท้ายก่อนการล่มสลายของบัลแกเรียภายใต้การปกครองของออตโตมันและจักรพรรดิ์ ซาร์ อีวาน สรัตซิเมียร์ (1324–1397) เคยอาศัยอยู่ในป้อมปราการแห่งนี้
ในช่วงการปกครองของออตโตมันป้อมปราการใช้เป็นโกดังเก็บอาหาร เก็บอาวุธยุทโธปกรณ์ และคุก  
ป้อมบาบา วีดาเป็นหนึ่งในป้อมปราการในยุคกลางที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีที่สุดในบัลแกเรีย ด้วยเหตุนี้จึงมักไม่ได้รับเลือกให้เป็นฉากสำหรับถ่ายภาพยนตร์ โรงละคร ในช่วงฤดูร้อนของวาดินมักจะมีการแสดงคอนเสิร์ตการแสดงละครและการแสดงอื่นๆ ภายในป้อมปราการ
ตลอดระยะเวลาที่ดำรงอยู่ป้อมปราการบาบา วีดา ถูกสร้างขึ้นและบูรณะใหม่หลายต่อหลายครั้งโดยมีองค์ประกอบในอดีตปรากฏให้เห็นตลอด ปัจจุบันสถานที่และพิพิธภัณฑ์ที่ได้รับการบูรณะแห่งนี้มีลานหลักล้อมรอบด้วยกำแพงด้านในและด้านนอกรวมทั้งหอคอยสี่แห่ง
ป้อมปราการบาบา วีดา ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในปราสาทยุคกลางที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีที่สุดในบัลแกเรีย


The Great Fortresses around the World #16 Himeji Castle – ‘ปราสาทฮิเมจิ’ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘ปราสาทนกกระสาขาว’ (Shirasagijo) เนื่องจากมีรูปลักษณ์สีขาวที่สง่างามจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นปราสาทที่งดงามที่สุดในญี่ปุ่น จากมีขนาดและความงามที่โอ่อ่าและบริเวณปราสาทที่ซับซ้อนได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี
ปราสาทฮิเมจิปราสาทเป็นทั้งสมบัติของชาติและมรดกโลก ซึ่งแตกต่างจากปราสาทอื่นๆ ของญี่ปุ่นไม่เคยถูกทำลายจากสงคราม แผ่นดินไหว หรือไฟไหม้มาก่อน ปราสาทฮิเมจิเป็นหนึ่งในปราสาทดั้งเดิมของญี่ปุ่นเพียงสิบสองแห่งที่ยังคงตั้งตระหง่านอยู่มาจนถึงปัจจุบัน
ปราสาทฮิเมจิตั้งอยู่ที่จุดยุทธศาสตร์ตามแนวทางตะวันตกของเมืองเกียวโตในอดีต ป้อมปราการแห่งแรกที่สร้างในช่วงทศวรรษที่ 1400 และค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นตลอดหลายศตวรรษโดยกลุ่มชนต่างๆ ที่ปกครองพื้นที่ ปราสาทที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันมีอายุมากกว่า 400 ปีและสร้างเสร็จในปี 1609 ประกอบด้วยอาคารกว่าแปดสิบหลังซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยประตูและเส้นทางที่คดเคี้ยว
มีป้อมปราการในพื้นที่ที่มีอยู่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 เมื่อซาดาโนริ อะคามัตซึ ผู้ปกครองจังหวัดฮาริมะ แต่ปราสาทฮิเมจิในปัจจุบันเริ่มต้นขึ้นโดยขุนศึกฮิเดโยชิ โตโยโตมิ ในปี 1581  ต่อมาปราสาทฮิเมจิได้รับการขยายให้ใหญ่ขึ้นในปี 1608 เป็นและได้รับการออกแบบใหม่โดยเทรุมาซะ อิเคดะ (นายพลคนหนึ่งของฮิเดโยชิซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนข้างและสนับสนุนอิเอยาสึโทคุงาวะในการต่อสู้แตกหักที่เซกิงาฮาระ) ปราสาทได้รับการขยายเพิ่มเติมในอีกไม่กี่ปีต่อมาเพื่อให้มีขนาดใหญ่โตน่าประทับใจในปัจจุบัน อาคารปราสาทแปดสิบสองหลังยังคงอยู่ที่ปราสาทฮิเมจิรวมถึงหอคอยสูง 46 เมตรที่สูงสง่า
ปราสาทฮิเมจิมีโครงไม้ของปราสาททำจากเสาขนาดใหญ่รวมทั้งคานไม้สนไซเปรสอายุเกือบ 800 ปี ทิวทัศน์อันงดงามจากชั้นบนสุดของปราสาทเหนือเมืองฮิเมจิ ไกลออกไปคือหมู่เกาะเอจิมะที่ตั้งอยู่กลางทะเล ปราสาทแห่งนี้มีเสน่ห์อย่างยิ่งในฤดูดอกซากุระเมื่อต้นซากุระหลายร้อยต้นในบริเวณปราสาทบานสะพรั่งเป็นสีชมพู สวนของบริเวณปราสาทที่กว้างขวางยังมีต้นพลัม พีช อาซาเลีย และวิสทีเรีย ชูช่อบ้านสะพรั่งอย่างสวยงาม


The Great Fortresses around the World #17 The Fortress of Orsini – เมืองโซราโน่ที่งดงามอาจมีรากเหง้าของชาวอีทรัสคัน แต่โดดเด่นด้วยใจกลางเมืองประวัติศาสตร์ในยุคกลางที่มีป้อมปราการและปราสาทออร์ซินีอันยิ่งใหญ่ซึ่งเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบของสถาปัตยกรรมทางทหารในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา
‘ป้อมปราการออร์ซินี’ เป็นอาคารทางทหารที่สง่างาม หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับป้อมออร์ซินีมีอายุย้อนไปถึง 1300 ในขณะนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตระกูล ตระกูลอัลโดบรันเดสชิจนถึงปลายศตวรรษที่ 14 และขยายใหญ่ขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดยตระกูลออร์ซินี ป้อมปราการออร์ซินีเป็นหนึ่งในตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบเรอเนสซองส์ยุคกลางที่สง่างามที่สุดของแคว้นทัสคานี ป้อมปราการแห่งนี้ได้ปกป้องพรมแดนของทัสคานีตอนใต้เป็นเวลาช้านาน มีความแข็งแรงอยู่เสมอเนื่องจากตำแหน่งของป้อมเสริมด้วยกำแพงโบราณและมีทางเข้าที่เปิดเพียงด้านเดียว ภายในมีสิ่งก่อสร้างสำคัญคือ ปราสาท, ป้อมปราการ, กำแพง เชิงเทิน และพรราชวัง Palazzo Ricci Buscatti ซึ่งก่อสร้างเพิ่มเข้ามาในศตวรรษที่ 19
ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาป้อมปราการแห่งนี้มีแขกผู้มีชื่อเสียงมากมายเช่นสมเด็จพระสันตปาปาซิสตุสที่ 6 ในปี 1478 หรือในปี 1494 กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 8 ของฝรั่งเศส


The Great Fortresses around the World #18 Mukachevo Castle – “ปราสาทมูคาเชโว” เป็นอนุสรณ์สถานทางทหารที่ทรงคุณค่าของยูเครน ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นที่ทางแยกของเส้นทางการค้าและการทหารในสมัยโบราณเพื่อปกป้องและควบคุมเส้นทางการค้าจากดินแดนของจักรวรรดิเคียฟรุสและจากเหมืองเกลือของ Semigradiye ไปยังสาธารณรัฐเช็กโมราเวีย และโปแลนด์
นักโบราณคดีคิดว่าผู้คนอาศัยอยู่บนเนินเขาที่มีความสูง 68 เมตร นี้มามาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากชุมชนเล็กๆ จากนั้นก็ถูกแทนที่ด้วยปราสาทไม้ต่างๆ ของเผ่าสลาฟ
การปรับปรุงและการสร้างปราสาทใหม่มีขึ้นตั้งแต่สมัยของเจ้าชายเฟดอร์ โคเรียโทวิช (Fyodor Koryatovich) เจ้าชายชาวลิทัวเนียแห่งราชวงศ์ Gediminid ในช่วงหลายปีของการครองราชย์ในมูคาเชโว (1396-1414) พระองค์เปลี่ยนปราสาทเล็กๆ ให้กลายเป็นป้อมปราการที่แข็งแกร่ง ปราสาทประกอบด้วยลานหลักซึ่งมีหอคอยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่พักและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดถูกล้อมรอบด้วยคูน้ำ และกำแพงหินที่มีหอคอยทรงกลมสี่หลัง (ปัจจุบันเหลือเพียงสามหลัง)  
ปีแล้วปีเล่าศตวรรษที่แล้วอาคารต่างๆ ได้รับการก่อสร้างและปรับปรุงโดยแยกแนวป้องกัน 4 แนวออกจากกันในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 เป็นเวลาหลายศตวรรษที่กำแพงของปราสาทอยู่ภายใต้การปิดล้อมของผู้รุกรานจำนวนมาก และป้อมปราการรอดจากการถูกล้อมหลายครั้ง หนึ่งในนั้นและน่าจดจำที่สุดกินเวลาเกือบสองปีครึ่ง – ตั้งแต่ฤดูร้อนปี 1685 จนถึงฤดูหนาวปี 1688
ในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1711 หลังจากการพ่ายแพ้ของ Ferenc II Rakoczi ปราสาทก็ถูกส่งต่อไปยังคลังสมบัติของจักรพรรดิออสเตรียอีกครั้ง ในศตวรรษที่ 18 ปราสาทได้สูญเสียความสำคัญทางทหารและในปี 1789 ได้เปลี่ยนเป็นเรือนจำสำหรับนักโทษการเมือง
ในวันที่ 2 พฤษภาคม 1848 ผู้ก่อความไม่สงบได้ยึดปราสาทและปลดปล่อยนักโทษ ในปี 1897 เรือนจำได้ถูกยกเลิก ปราสาทถูกทิ้งร้างเป็นเวลานาน ในปี 1922-1926 ป้อมปราการได้รับการปรับปรุงใหม่บางส่วนและใช้เป็นค่ายทหาร
ในสมัยโซเวียตปราสาท Mukachevo กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ปัจจุบันเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวหลักในภูมิภาค Zakarpattia ของยูเครน


The Great Fortresses around the World #19 Conwy Castle – “ป้อมปราการยุคกลางอันงดงามยังคงตั้งตระหง่านผ่านกาลเวลามาหลายร้อยปี” คอนวีเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเก็บรักษาไว้ภายในกำแพงเมือง ใจกลางของที่นี่คือปราสาทสมัยศตวรรษที่ 13 อันยิ่งใหญ่ซึ่งมีกำแพงล้อมรอบเมืองในยุคกลางที่โดดเด่นแห่งนี้
‘ปราสาทคอนวี’ สร้างเสร็จเมื่อกว่า 700 ปีก่อนเพื่อปราบปรามชาวเวลส์ ตั้งอยู่ในนอร์ทเวลส์ หลังสงครามประกาศอิสรภาพของเวลส์ครั้งที่ 2 ระหว่างปีค.ศ.1282-1283 สิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้และการถูกยึดครองพื้นที่ทางตอนเหนือโดยอังกฤษ โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1272-1307) สั่งให้สร้างป้อมปราการและเมืองใหม่ ตั้งแต่ ค.ศ.1283-1292 เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจของอังกฤษ โดยปรมาจารย์แห่งการสร้างปราสาท James of St George ซึ่งเป็นหัวหน้าสถาปนิก
นักประวัติศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งเขียนถึงปราสาทคอนวี ว่า “โดยรวมแล้วคอนวี เป็นป้อมปราการของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ที่งดงามที่สุดอย่างหาที่เปรียบมิได้” เมื่อเปรียบเทียบกับปราสาทสมัยเอ็ดเวิร์ดที่ยิ่งใหญ่อื่นๆ การออกแบบที่ค่อนข้างตรงไปตรงมาซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นคงและแข็งแกร่ง
นอกเหนือจากปราสาท Harlech ปราสาท Caernarfon และปราสาท Beaumaris ปราสาทคอนวีนับว่าเป็นหนึ่งในป้อมปราการยุคกลางที่ดีที่สุดในสหราชอาณาจักร และได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกตั้งแต่ปี 1986


The Great Fortresses around the World #20 Burg Hochosterwitz – “ปราสาทโฮโคสแทร์วิทซ์” ปราสาทยุคกลางที่สง่างามที่สุดแห่งหนึ่งในออสเตรีย และเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของป้อมปราการและฐานที่มั่น สิ่งที่ทำให้ปราสาทดูแข็งแกร่งมากคือตำแหน่งที่ตั้งที่โดดเด่นอยู่บนหน้าผาหินปูนสูง 170 เมตร
สร้างขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ.860 ถนนทางเข้าปราสาทยาว 620 เมตรถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันเพื่อให้ยากที่สุดสำหรับผู้โจมตี ถนนคดเคี้ยวไปตามหน้าผาหินปูนสูงชันและผ่านประตูป้อม 14 แห่งที่สร้างขึ้นระหว่างปี 1570 ถึง 1582 แต่ละประตูใดมีด้วยกลไกการป้องกันประเภทต่างๆ ที่แตกต่างกัน และ “ประตูแต่ละบานมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว” นอกจากนี้เชิงเทินที่แยกออกมายังให้ทัศนียภาพที่งดงามเหนือภูมิทัศน์ของภูมิภาคคารินเที
แม้ว่าป้อมปราการจะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากการโจมตีของพวกออตโตมัน แต่ก็มีการกล่าวกันว่าไม่มีผู้โจมตีคนใดมาไกลเกินกว่าประตูที่ 4 เลย ตัวปราสาทตั้งอยู่บนที่ราบบนภูเขาที่ล้อมรอบด้วยกำแพงและป้อมปราการรอบด้าน เป็นที่น่าทึ่งว่าการก่อสร้างป้อมปราการที่แยบยลนี้เป็นเหตุผลที่ปราสาทไม่เคยถูกพิชิตมาหลายศตวรรษ ปราสาทแห่งนี้ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นป้อมปราการเท่านั้น แต่ยังเป็นที่หลบภัยของชาวบ้านอีกด้วย การก่อสร้างและสถานที่ที่แยบยลทำให้ศัตรูแทบจะไม่สามารถเข้าถึงด้านในได้เลย ผู้ที่อาศัยอยู่ในป้อมปราการสามารถดำรงชีพได้อย่างยาวนาน เพราะพวกเขามีโรงงานช่างไม้ โรงสีข้าว โรงตีเหล็ก โรงเบเกอรี่ และโรงผลิตไวน์ของตัวเอง
ปราสาทโฮโคสแทร์วิทซ์เป็นถูกครอบครองโดยตระกูลขุนนาง Khevenhüller ตั้งแต่ปี 1571 ที่มีส่วนร่วมในสงครามสามสิบปี (ค.ศ. 1618-1648) วันนี้ครอบครัวยังคงเป็นเจ้าของเช่นเดิม ไม่มีการสร้างปราสาทขึ้นมาใหม่หลังศตวรรษที่ 17 และปราสาททั้งหลังได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ลานภายในของปราสาทยังมีร้านอาหารพร้อมพื้นที่รับประทานอาหารกลางแจ้งขนาดใหญ่ รวมถึงพิพิธภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่จัดแสดงอาวุธ ชุดเกราะอัศวิน และสมบัติของตระกูล Khevenhüller จากการครอบครองยาวนานกว่า 500 ร้อยปี


The Great Fortresses around the World #21 Bodiam Castle – ปราสาทโบราณที่ยังคงมีตั้งตระหง่านอยู่ในสภาพเหมือนซากปรักหักพังภายในหุบเขาโรเธอร์ Rother Valley ในซัสเซ็กซ์ประเทศอังกฤษ และนี่คือ “ปราสาทโบเดียม” ปราสาทที่งดงามในยุคกลางที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 14 ใช้เวลาหลายศตวรรษในฐานะหนึ่งในปราสาทที่อันเป็นที่รักและรู้จักกันดีที่สุดในอังกฤษ ปราสาทโบเดียมสร้างขึ้นระหว่างประมาณปี 1380-1385 เพื่อปกป้องพื้นที่อันสวยงามของซัสเซ็กส์ตะวันออกจากการรุกรานของฝรั่งเศสในช่วงสงครามร้อยปี โดยเซอร์เอ็ดเวิร์ด ดัลลิงริดจ์ อัศวินแห่งไชร์แห่งซัสเซ็กซ์ ในสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 และพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ เซอร์เอ็ดเวิร์ดและภรรยาอาศัยอยู่ในปราสาทในยุคที่ทั่วยุโรปกำลังถูกคุกคามจากการระบาดของกาฬโรค (Black Death) ในปี 1348 ปราสาทผ่านการประท้วงจากชนชั้นแรงงานในช่วงกบฏชาวนาในปี ค.ศ.1381 รวมถึงข้อพิพาทของราชวงศ์ที่นำไปสู่สงครามดอกกุหลาบในระหว่างปี 1455-1485
เนื่องจากปราสาทโบเดียมถูกสร้างขึ้นเพื่อปกป้องชายฝั่งทางใต้จากฝรั่งเศสจึงไม่แปลกใจเลยที่ปราสาทแห่งนี้จะได้รับการเสริมสร้างเพื่อให้เหมาะสำหรับการรบ อย่างไรก็ตามหากพิจารณาที่ตั้งของปราสาทแล้วมันก็ดูแปลกที่มันถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องชายฝั่งที่อยู่ห่างออกไปมากทีเดียว การออกแบบของปราสาทเป็นสิ่งที่ยังคงดึงดูดผู้คนในยุคปัจจุบันนี้ อาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมและมีช่องบนผนังด้านนอกเช่นเดียวกับหอคอยในแต่ละจุด และทางเข้าหอคอยเหล่านี้มีความสำคัญ เนื่องจากต้องระวังการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นซึ่งสามารถโต้ตอบได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างที่สำคัญหลายอย่างของสถาปัตยกรรมจากศตวรรษที่ 14 โดยมีทางเข้าประตูรั้วสองชั้นและหอคอยมากมายที่ตัดกับเส้นขอบฟ้าที่สวยงามสำหรับทุกคนที่มาเยี่ยมชม ปราสาทได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีก็ยังคงตระหง่านอยู่จนถึงปัจจุบัน แม้ว่าการตกแต่งภายในจะมีสภาพทรุดโทรม แต่ก็ไม่สามารถลดทอนความงดงามอันเป็นสัญลักษณ์อัศวินในยุคกลางที่น่าประทับใจนี้ได้เลย สมกับคำว่า ‘จิตวิญญาณแห่งโบเดียม’


The Great Fortresses around the World #22 Swallow’s Nest Castle (Crimea Castle) ยูเครน – ‘ปราสาทรังนก’ ได้ชื่อว่าเป็น ‘อัญมณีอันล้ำค่าของยูเครน’ นี่คือปราสาทเทพนิยายบนหน้าผาในแหลมไครเมีย
ปราสาทไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักและปกป้องผู้อยู่อาศัย ป้อมปืนและเชิงเทินเป็นเพียงสัญลักษณ์มากกว่าการใช้งานจริงใดๆ โดยมีบางส่วนของระเบียงยื่นจากหน้าผา ปราสาทรังนกรอดจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ (6-7 ริกเตอร์) ที่ถล่มพื้นที่นี้ในปี 1927 แม้ว่าตัวอาคารจะไม่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง แต่หินที่อยู่เบื้องหลังหน้าผานี้ได้เกิดรอยแตกแนวตั้งขนาดใหญ่อันเป็นผลมาจากแผ่นดินไหว และปราสาทได้ถูกปิดมานานกว่าสี่ทศวรรษ
ในปี 1968 การบูรณะอาคารเริ่มขึ้นโดยพยายามทำให้สามารถอยู่อาศัยได้ วิศวกรได้สอดแผ่นคอนกรีตขนาดใหญ่เข้าไปในหน้าผาเพื่อช่วยให้เสริมความแข็งแรงตรงรอยแตกที่เหลือจากแผ่นดินไหว ในปี 1975 ร้านอาหารอิตาเลียนได้เปิดให้บริการในปราสาทและดำเนินการมาจนปัจจุบีน เนื่องจากสถานที่ตั้งที่งดงามของปราสาททำให้ถูกใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์ของโซเวียตหลายเรื่อง
ปราสาทรังนกเปรียบเสมือนเป็นอัญมณีนีโอโกธิคขนาดเล็กที่ตั้งอยู่บนหน้าผาบนชายฝั่งทะเลดำของยูเครนที่ทอดยาวราวกับริบบิ้นสีฟ้าครามที่งดงามตามคาบสมุทรไครเมีย ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถือเป็น “ริเวียร่าของรัสเซีย”


The Great Fortresses around the World #23 Krak des Chevaliers – ‘นี่คืออนุสรณ์สถานที่งดงามที่สุดในยุคสงครามครูเสด’ ด้วยความงดงามของหินซึ่งมีสัดส่วนที่สง่างาม ความทุ่มเทในการสร้าง ความแม่นยำไร้ที่ติ และความเป็นเลิศทางงานฝีมือที่ไม่มีใครเทียบ
“ครัก เด เชอวาลีเย” หรือรู้จักกันในภาษาอาหรับว่า Hisn al-Akrad) เป็นปราสาทครูเสดที่ตั้งอยู่ในประเทศซีเรีย เป็นปราสาทในซีเรียที่สร้างขึ้นในปี 1031เพื่อกษัตริย์แห่งอะเลปโป และสร้างขึ้นใหม่ในปี 1144 โดยอัศวินครูเสด ที่คอยดูแลคนยากจน ผู้บาดเจ็บหรือเจ็บป่วย และผู้แสวงบุญที่เดินทางมายังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ถือว่าเป็นปราสาทที่แข็งแกร่งที่สุดในตะวันออกกลางและเป็นป้อมปราการต่อต้านการขยายตัวของรัฐมุสลิมในช่วงศตวรรษที่ 12 และ 13 ปัจจุบันปราสาทได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก ในปี 2006
ปราสาทครัก เด เชอวาลีเย ขยายออกไปด้วยกำแพงป้องกันชั้นนอกที่สร้างขึ้นมาใหม่ทำให้กลายเป็นฐานที่มั่นสำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค เนื่องจากที่ตั้งของปราสาทแห่งนี้อยู่บนป้อมปราการธรรมชาติใกล้ชายฝั่งทางตอนใต้ของซีเรียระหว่างทาร์ทัสและตริโปลี ตัวปราสาทตั้งอยู่บนหุบเหวสูงชันด้านทิศเหนือถือเป็นเส้นทางที่สำคัญซึ่งทำให้เข้าถึงจากชายฝั่งไปยังที่ราบในซีเรียได้ ทำให้ช่วยควบคุมพื้นที่โดยรอบ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามทางทหารต่อกองทัพต่างๆ ที่ผ่านพื้นที่ดังกล่าว
วันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1170 เกิดแผ่นดินไหวในภูมิภาคนี้ได้สร้างความเสียหายให้กับปราสาทหลายแห่งรวมทั้งครัก เด เชอวาลีเยด้วย และต่อมาได้เกิดแผ่นดินไหวอีกครั้งในปีค.ศ.1202 และเป็นไปได้ว่าเหล่าอัศวินบริบาล ใช้โอกาสนี้ในการออกแบบใหม่และมีการเพิ่มกำแพงป้องกันและหอคอยศูนย์กลางของปราสาทเข้าในการก่อสร้างครั้งนี้
ประวัติความเป็นมาของปราสาทในภายหลังมีความคลุมเครือและดูเหมือนว่าจะถูกละเลยไปมาก และเมื่อไม่นานมานี้ปราสาทได้รับความเสียหายบางส่วนในช่วงสงครามกลางเมืองของซีเรียตั้งแต่ปี 2011- 2014 แต่ครัก เด เชอวาลีเยและยังคงเป็นหนึ่งในปราสาทยุคกลางที่ดีที่สุดที่ยังตั้งตระหง่านผ่านกาลเวลา ทนต่อความขัดแย้ง สงครามการแบ่งแยกศาสนา และการยึดครองมานานหลายศตวรรษ


The Great Fortresses around the World #24 Mehrangarh Fort, ราชสถาน อินเดีย – ‘ป้อมเมห์รานการห์’ ตั้งตระหง่านบนหน้าผาสูงเหนือมหาสมุทรและเส้นท้องฟ้าของเมืองจอดห์ปูร์ หินทรายสีแดงที่ดูทรงพลังยังอยู่ยงคงกระพันมาหลายร้อยปีและยังแฝงไปด้วยความสวยงามแปลกตาชวนให้หลงใหล มีเรื่องราวและตำนานโบราณที่มากมายเกี่ยวกับ ‘ป้อมปราการแห่งดวงอาทิตย์” Citadel of the Sun แห่งนี้  ชื่อ Mehrangarh มาจากการรวมกันของคำภาษาสันสกฤตสองคำ “Mihir” หมายถึงเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์และ “Garh” หมายถึงป้อมปราการ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในป้อม Mehrangarh เชื่อกันว่าสืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์จากเทพนิยายฮินดู   ป้อมขนาดใหญ่แห่งนี้เป็นป้อมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในรัฐราชสถานตั้งอยู่บนเนินเขาที่สูง 400 ฟุต ด้วยขนาดอันมหึมาอันน่าเหลือเชื่อจน ‘รัดยาร์ด คิปลิง’ กวีและนักเขียนชาวอังกฤษในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เรียกป้อมนี้ว่า “ผลงานของยักษ์ไททัน” ปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นป้อมปราการที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดีย   ป้อมเมห์รานการห์ถือเป็นความภาคภูมิใจของจอดห์ปูร์ ถูกสร้างขึ้นโดย มหาราชา ‘ราโอ จอดา’ Rao Jodha ในปี 1459 ถือเป็นป้อมที่น่าเกรงขามและงดงามที่สุดแห่งหนึ่งของรัฐราชสถาน กำแพงป้อมมีความสูง 118 ฟุตและกว้าง 69 ฟุต งานแกะสลักที่สลับซับซ้อนบนกำแพงป้อมและลานกว้างประวัติศาสตร์ มีประตูทางเข้า 7 ประตูที่สร้างขึ้นโดยผู้ปกครองที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะ ‘ประตูแห่งชัยชนะ’ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงชัยชนะของ ‘มหาราชามันซิงห์’ เหนือกองทัพชัยปุระและไบคาเนอร์
ป้อมนี้ยังมีพระราชวังที่หรูหราเช่น Sheesh Mahal (Glass Palace) และ Phool Mahal (Rose Palace) นอกจากนี้ยังมีวัดโบราณสองแห่งตั้งอยู่ภายใน    ป้อมเมห์รานการห์ปรากฏตัวในผลงานฮอลลีวูดหลายเรื่องเช่น The Lion King, Batman – The Dark Knight Rises   


The Great Fortresses around the World #25  Kumbhalgarh Fort Rajasthan, ราชสถาน อินเดีย – ‘อาณาจักรเมวาร์’ เป็นพื้นที่ในภาคใต้ตอนกลางของรัฐราชสถานของอินเดียซึ่งได้รับการปกป้องโดยป้อมปราการถึง 84 แห่งซึ่งตั้งตระหง่านอยู่บนยอดเขามานานหลายศตวรรษ ‘ป้อมคัมบาลการห์’ เป็นหนึ่งในป้อมปราการเหล่านั้น   ป้อมคัมบาลการห์สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 15 เป็นป้อมที่สำคัญที่สุดรองจากป้อม ‘จิตตอร์การห์’ Chittorgarh ป้อมแห่งนี้ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี 2013 ซึ่งรวมอยู่ใน ,ป้อมภูเขาทั้ 6 แห่งราชสถาน, ‘Hill Forts of Rajasthan’ ประกอบด้วย ป้อม Chittorgarh, Kumbhalgarh, Sawai Madhopur, Jhalawar, Amer Fort ในชัยปุระ และ Jaisalmer   คัมบาลการห์เป็นหนึ่งในป้อมไม่กี่แห่งในประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยมีใครพิชิตได้มาจนถึงปัจจุบัน สาเหตุที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือที่ตั้งอันมั่นคงที่ล้อมรอบป้อมปราการด้วยกำแพงขนาดใหญ่สูงตระหง่านซึ่งดูลึกลับและคดเคี้ยวผ่านหุบเขาที่แห้งแล้งทอดยาวข้ามเทือกเขาอาราวาลี มีความกว้าง 15 เมตร ความยาวถึง 36 กม. ซึ่งสันนิษฐานว่ายาวที่สุดรองจากกำแพงเมืองจีน ป้อมแห่งนี้สูงประมาณ 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเล    มียอดเขา 13 ยอดล้อมรอบป้อมป้อมคัมบาลการห์ ประตูขนาดใหญ่ 7 แห่ง และหอสังเกตการณ์ของป้อมสามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามของเทือกเขาอาราวาลี หอคอยอันยิ่งใหญ่นี้ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับป้อมปราการยิ่งขึ้น ภายในมี ‘พระราชวังบาดัลมาฮาล’ หรือ ‘พระราชวังแห่งเมฆ’ ที่มีห้องอันโอ่อ่าทาสีขาวและสีเขียวเทอควอยซ์ซึ่งตัดกันอย่างสะดุดตากับป้อมสีเทาที่อยู่ที่ด้านบนสุดของป้อม นอกจากนี้ภายในป้อมขนาดมหึมายังมีมีวัดถึง 360 แห่ง ทั้งวัดเชนและวัดฮินดู   คัมบาลการห์ เป็นที่รู้จักกันดีว่าที่นี่เป็นบ้านเกิดของ Maharana Pratap กษัตริย์และนักรบในตำนานของอาณาจักรเมวาร์  


The Great Fortresses around the World #26  Janjira Fort, รัฐมหาราษฏระ อินเดีย – ‘ป้อมจันจิรา’ ตั้งอยู่บนเกาะหินรูปวงรีใกล้กับเมืองท่ามุรุท Murud ซึ่งอยู่ทางใต้ของมุมไบ ล้อมรอบด้วยทะเลอาระเบียน เป็นป้อมทางทะเลที่แข็งแกร่งที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดีย ป้อมนี้เข้าถึงได้โดยเรือจากท่าเทียบเรือราชปุร์ ซึ่งประตูใหญ่ของป้อมหันหน้าไปทางราชปุร์เช่นกัน ชื่อ Janjira มาจากคำภาษาอาหรับว่า Jazeera ซึ่งแปลว่า ‘เกาะ’ โครงสร้างดั้งเดิมสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 15 เพื่อป้องกันการปล้นสดมภ์จากโจรสลัด  จากป้อมที่ถูกสร้างขึ้นด้วยโครงสร้างไม้ขนาดเล็กในศตวรรษที่ 15 หลังจากถูกยึดโดย ‘มาลิก อัมบาร์’ Malik Amber ทาสชาวแอฟริกันที่กลายเป็นนักรบแห่งราชวงศ์ซิดดิ Siddi ป้อมปราการก็ได้รับการเสริมความแข็งแกร่งและยังคงยืนหยัดมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าชาวโปรตุเกสและอังกฤษจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อยึดป้อมจันจิราแต่ก็ไม่สามารถมีชัยชนะเหนือป้อมนี้ได้  ป้อมจันจิราถูกสร้างขึ้นใหม่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 มีความสูงถึง 40 ฟุต และมีกำแพงสูงล้อมรอบทุกด้าน ผ่านการทดสอบของกาลเวลา ยืนหยัดฝ่าคลื่นทะเลอย่างแข็งแกร่งมาหลายร้อยปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของวิศวกรรมโบราณ   ในยุครุ่งเรืองมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นทั้งหมดเช่น พระราชวัง มัสยิด ถังเก็บน้ำจืดขนาดใหญ่ ฯลฯ ที่ผนังด้านนอกที่ขนาบข้างประตูใหญ่มีรูปสลักที่มีรูปเหมือนเสือ สัตว์ร้ายกำลังเกาะช้างไว้ในกรงเล็บ ว่ากันว่าเป็นรูปสลักนี้มีความหมายที่ยากต่อการตีความ ซึ่งจะเห็นปรากฏบนประตูป้อมหลายแห่งของรัฐมหาราษฏระ ป้อมปราการมีคลังอาวุธที่แข็งแกร่ง ป้อมปราการทรงกลม 26 ที่บรรจุปืนใหญ่ 512 กระบอก ปืนใหญ่เหล่านี้บางส่วนยังสามารถพบเห็นได้อยู่รอบๆ

 
The Great Fortresses around the World #27  ‘ป้อมอาเมร์ หรือ ป้อมแอมเบอร์’ Amer Fort, ชัยปุระ หรือ จัยปูร์ อินเดีย – พระราชวังมหาราชาอันหรูหราในศตวรรษที่ 16 แห่งนี้เป็นการออกแบบผสมผสานระหว่างศาสนาฮินดูและอิสลามอย่างมีเอกลักษณ์ และได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี 2013  ป้อมแห่งนี้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของ ‘ป้อมภูเขาทั้ง 6 แห่งในรัฐราชสถาน’ ป้อมแห่งนี้นี้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่งดงามของราชปุตในยุคนั้นอย่างชัดเจน มีการต่อเติมและบูรณะในป้อมในเวลาต่อมา ป้อมปราการอันยิ่งใหญ่ได้ทำหน้าที่ยืนหยัดต่อสู้กับ และการรุกรานตลอดรายร้อยปีที่ผ่านมา    ป้อมแอมเบอร์มีความสำคัญและสวยงามทางสถาปัตยกรรมเป็นอนุสรณ์สถานที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีจากยุครุ่งเรืองของการปกครองของราชปุตในรัฐราชสถาน ตั้งอยู่เหนือเมืองแอมเบอร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของ Kuchwaha Rajputs ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ถึงศตวรรษที่ 18 ‘มหาราชามานซิงห์’ ซึ่งเป็นผู้นำกองทัพของจักรพรรดิโมกุลอัคบาร์เริ่มก่อสร้างป้อมนี้ในปี 1592 บนซากป้อมสมัยศตวรรษที่ 11 เทือกเขาอาราวารี ก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปที่ชัยปุระในปี 1727 สร้างขึ้นด้วยหินทรายสีเหลืองอ่อนและสีชมพูและหินอ่อนสีขาว ป้อมแอมเบอร์ดูเหมือนเป็นพระราชวังมากกว่าป้อมปราการโดยรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบการผสมผสานระหว่างราชปุต (ฮินดู) และโมกุล (อิสลาม)    ภายในประกอบด้วยลานสี่แห่ง พระราชวัง ห้องโถง และสวน แต่ละส่วนของป้อมที่งดงามมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์โดยมีพื้นที่ที่แตกต่างกันเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ลานหลักเป็นที่ชุมนุมของกองทหารของกษัตริย์ วิหารเล็กๆ ที่สร้างอุทิศให้กับ ‘ชิลาเทวี’  Sheela Mata เทพธิดาผู้อุปถัมภ์ และ ‘พระพิฆเนศโปล’ ซึ่งเป็นประตูที่นำไปสู่พระราชวังส่วนตัวของกษัตริย์  ป้อมแอมเบอร์มีความสำคัญและสวยงามทางสถาปัตยกรรมเป็นอนุสรณ์สถานที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีจากยุครุ่งเรืองของการปกครองของราชปุตในรัฐราชสถาน


The Great Fortresses around the World #28 Castillo de San Marcos ฟลอริด้า อเมริกา – อเมริกาเริ่มต้นที่นี่..! ป้อม ซาน มาร์โกส สร้างโดยชาวสเปนในเมืองเซนต์ออกัสติน ริมอ่าวมาตันซัส Matanzas อันกว้างใหญ่ เพื่อปกป้องฟลอริดาและเส้นทางการค้าในมหาสมุทรแอตแลนติกจากการโจมตีของโจรสลัด เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี 1672-1695 ใช้เวลาก่อสร้างถึง 23 ปี เป็นป้อมก่ออิฐที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปอเมริกาเป็น และเป็นสิ่งก่อสร้างทางทหารแห่งเดียวในศตวรรษที่ 17 มีอายุเกือบ 350 ปี   การออกแบบป้อมปราการเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่มีหอคอยสังเกตการณ์สี่ด้านคล้ายรูปดาว ล้อมรอบด้วยคูน้ำสไตล์อิตาลี  วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างนั่นคือ ‘หินโคกีนา’ Coquina ซึ่งเป็นหินปูนอ่อนที่ประกอบด้วยเศษเปลือกหอยที่มีน้ำหนักเบาและมีรูพรุน แทนที่จะแตกร้าวหรือพังทลายกำแพงจากกระสุนปืนใหญ่ แต่หินโคกีนามีคุณสมบัติช่วยดูดซับกระสุนปืนของศัตรูซึ่งทำให้กระสุนถูกดูดติดเข้าไปในกำแพงแทนการระเบิด   ป้อมปราการถูกไฟไหม้เป็นครั้งแรกในปี 1702 โดยกองกำลังของอังกฤษ แต่ไม่สามารถเจาะกำแพงของป้อมนี้ได้ การโจมตีครั้งต่อมาในปี ค.ศ.1728 และ ค.ศ.1740 ให้ผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันและกองทัพอังกฤษก็ยังไม่สามารถยึดเมืองเซนต์ออกัสตินได้จากกำลังทหาร   อย่างไรก็ตามในปี 1763 ฟลอริดาได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยการลงนามในสนธิสัญญาปารีสจึงเริ่มต้นการปกครองของอังกฤษเป็นเวลา 20 ปี ป้อมแห่งนี้ถูกใช้เป็นคุกทหารในช่วงสงครามปฏิวัติอเมริกา The American Revolutionary War (1775–1783)  ในตอนท้ายของสงครามปฏิวัติอเมริกา ฟลอริดาถูกส่งกลับไปยังสเปนในปี 1784 จนกระทั่งฟลอริดากลายเป็น ดินแดนของสหรัฐอเมริกาในปี 1821 ชาวอเมริกันเรียกป้อมนี้ว่า Castillo Fort Marion ซึ่งเป็นเกียรติแก่นายพล ฟรานเซส แมเรียน รัฐบาลสหรัฐฯใช้ Fort Marion เป็นคุกสำหรับชาวอเมริกันพื้นเมืองในช่วงปลายทศวรรษที่ 1800    ป้อมแห่งนี้ถูกปลดประจำการอย่างเป็นทางการในปี 1900 และได้รับการอนุรักษ์และได้รับการยอมรับว่าเป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติในปี 1924 สภาคองเกรสได้เปลี่ยนชื่อป้อมในปี 1942 โดยเปลี่ยนเป็นมาใช้ชื่อภาษาสเปน ว่า Castillo de San Marcos ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อันยาวนานของเซนต์ออกัสตินในศตวรรษที่ 17 


The Great Fortresses around the World #29  Königstein Fortress, เยอรมนี – ป้อมปราการคูนิชสไตน์ หรือที่เรียกว่า “Saxon Bastille” เป็นป้อมปราการบนยอดเขาในเมืองคูนิชสไตน์ ตั้งตระหง่านสูงขึ้นไป 240 เมตรเหนือหุบเขาเอลเบ  Elbe Valley ในพื้นที่ ‘แซกซอน สวิตเซอร์แลนด์’ ใกล้กับเมืองเดรสเดน ประเทศเยอรมนี ในรูปแบบสถาปัตยกรรม โกธิค เรอเนสซองซ์ บาโรก และสถาปัตยกรรมศตวรรษที่ 19 ตอนปลาย มีอายุกว่า 750 ปี  ประวัตศาสตร์ของป้อมปราการคูนิชสไตน์ เริ่มต้นศตวรรษที่ 13 ในฐานะป้อมปราการยุคกลางที่เป็นของอาณาจักรโบฮีเมียน ในช่วงทศวรรษที่ 14 ชาวแซกซอนได้พิชิตป้อมแห่งนี้ และต่อมาได้เปลี่ยนให้ฐานที่มั่นและเป็นอารามในศตวรรษที่ 16 ก่อนที่ Christian I of Saxony จะเปลี่ยนเป็นป้อมปราการในปี 1589 จากนั้นใช้เป็นที่คุมขังนักโทษ จนกระทั่งนโปเลียนพิชิตปรัสเซียได้ จึงกลายเป็นป้อมปราการของ ‘สมาพันธ์แม่น้ำไรน์’  ภายในมีอาคารมากกว่า 50 หลังซึ่งบางหลังมีอายุมากกว่า 400 ปีซึ่งเป็นพยานถึงชีวิตของทหารและพลเรือนในป้อมปราการ เชิงเทินของป้อมปราการมีความยาว 1,800 เมตร มีกำแพงสูงถึง 42 เมตร ค่ายทหารที่เก่าแก่ที่สุดของเยอรมนี ‘โบสถ์ทหารรักษาการณ์แซกซอนแห่งแรก’ Saxonian Garrison Church และบ่อน้ำประวัติศาสตร์ที่ลึกที่สุดในแซกโซนี (152.5 เมตร) และเป็นบ่อน้ำที่ลึกเป็นอันดับสองในยุโรป   ป้อมปราการคูนิชสไตน์ยังคงถูกใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นๆ ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาตั้งแต่ที่หลบภัยสำหรับทหารไปจนถึงที่หลบซ่อนของราชวงศ์แซกซอน และยังถูกใช้เป็นค่ายกักกันเชลยศึกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2   


The Great Fortresses around the World #30  Guaita Tower, ซานมาริโน่ – ‘หอคอยกูไอตา’ สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 11 บนความสูง 750 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ถือว่าเก่าแก่ที่สุดในบรรดาหอคอยสามแห่ง (อีกสองแห่งคือ De La Fratta และ Tower Montale) ในสาธารณรัฐซานมาริโน สาธารณรัฐที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรปและประเทศที่เล็กที่สุดอันดับที่ 3 ของยุโรปรองจากวาติกันและโมนาโก ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหนึ่งในมรดกโลกในปี 2008  จากภาษาอิตาลีชื่อของหอคอย Guaita แปลว่า ‘หอคอยแรก’ ที่ดูคล้ายกับปราสาทในเทพนิยายซึ่งทอดตัวสูงขึ้นไปสู่ท้องฟ้าสีฟ้าคราม ต่อมาป้อมปราการได้รับการสร้างขึ้นมาใหม่หลายครั้งทำให้เกิดความงดงามสูงสุดในศตวรรษที่ 15 ป้อมปราการมีบทบาทสำคัญในช่วงทศวรรษ 1600 เมื่อช่วยปกป้องซานมารีโนในช่วงสงครามที่ต่อสู้กับตระกูลมาลาเทสต้าผู้มีตำแหน่งเป็นลอร์ดแห่งริมินี   กูไอตาตั้งตระหง่านมานานกว่า 10 ศตวรรษ เคยเป็นเรือนจำในปี 1970 โครงสร้างของยุคกลางที่ยั่งยืนนี้มีลักษณะเป็นรูปห้าเหลี่ยมโดยมีหอคอยป้อมปราการตรงกลาง มีกำแพงล้อมรอบสองชั้น กำแพงด้านนอกเรียงรายไปด้วยเชิงเทินได้ทิ้งร่องรอยความเสียหายจากสงครามในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา 


The Great Fortresses around the World #31  Bamburgh Castle ปราสาทริมชายฝั่งที่ดีที่สุดของอังกฤษ – ‘ปราสาทแบมเบิร์ก’ เป็นปราสาทในตำนานของ ‘Joyous Gard’ ซึ่งเป็นปราสาทของ ‘เซอร์ ลานเซล็อต’ Sir Lancelot หนึ่งในอัศวินโต๊ะกลมในตำนานของ King Arthur  ‘ปราสาทแบมเบิร์ก’ ตั้งอยู่บนฐานหินภูเขาไฟที่แข็งแกร่งที่สามารถมองเห็นหาดทรายที่กว้างใหญ่และทะเลเหนือ และหมู่เกาะฟาร์น Farne Island ที่นี่เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเบอร์นิเซียแองโกล – แซกซอน แต่ถูกทำลายโดยชาวไวกิ้งในปี ค.ศ. 993 ต่อมาชาวนอร์มันได้สร้างปราสาทซึ่งพัฒนามาเป็นป้อมปราการชายแดนที่น่าเกรงขาม ปราสาทถูกสร้างขึ้นใหม่เกือบทั้งหมดในศตวรรษที่ 19   ในปี 1086 โรเบิร์ต เดอ โมว์เบรย์ เอิร์ลแห่งนอร์ธธัมเบอร์แลนด์ ใช้ปราสาทเป็นฐานทัพเพื่อรักษาความปลอดภัยของดินแดนทางเหนือจากการรุกรานของสก็อตแลนด์ และยังเป็นผู้นำทัพออกจากปราสาทเพื่อต่อสู้กับกองทัพสก็อตในการรบครั้งแรกที่เมืองแอนิก Alnwick ในปี 1093 ซึ่งเขาได้โจมตีและสังหารพระเจ้ามัลคอล์ม ที่ 3 แห่งสก็อตแลนด์ได้สำเร็จ  อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ.1095 โรเบิร์ตได้ก่อกบฏต่อพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งอังกฤษ โรเบิร์ตซึ่งอยู่ที่ปราสาท ‘ไทน์เมาธ์’ Tynemouth Castle และถูกจับได้เมื่อเขาพยายามหลบหนีไปยังนิวคาสเซิล และถูกนำตัวไปคุมขังในปราสาทแบมเบิร์ก และใช้เวลาอีกสามสิบปีในฐานะนักโทษที่ปราสาทวินด์เซอร์  ในปี 1464 ระหว่าง ‘สงครามดอกกุหลาบ’ ปราสาทแบมเบิร์กเป็นฐานที่มั่นของราชวงศ์แลงคัสเตอร์ และถูกโจมตีอย่างรุนแรง กลายเป็นปราสาทแห่งแรกในอังกฤษที่พ่ายแพ้ด้วยปืนใหญ่เมื่อสิ้นสุดการปิดล้อมเก้าเดือนโดย ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 16 แห่งวอริก  ในช่วงต้นทศวรรษ 1600 ปราสาทได้รับความเสียหายอย่างมาก และต่อมาตกอยู่ในการครอบครองของตระกูลฟอร์สเตอร์ในท้องถิ่น และได้กลายเป็นโรงพยาบาล และโรงเรียนก่อนจะถูกซื้อโดย ลอร์ด อาร์มสตรอง นักอุตสาหกรรมที่ร่ำรวยในท้องถิ่น และได้เริ่มงานบูรณะปราสาทหลังนี้อีกครั้ง   

The Great Fortresses around the World #32  The Citadel of Aleppo, ซีเรีย ‘หนึ่งในปราสาทที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลก’ – ‘อเลปโป’ หนึ่งในเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อเลปโปรักษาประวัติศาสตร์ตะวันออกใกล้ที่ยังหลงเหลืออยู่กว่า 4,000 ปี  ‘ป้อมปราการอเลปโป’ เป็นพิภพเล็กๆ ที่ซ้อนกันอย่างหนาแน่นของประวัติศาสตร์อันยาวนาน โครงสร้างอันซับซ้อนส่วนใหญ่ของป้อมปราการถูกสร้างขึ้นโดย ‘ราชวงศ์อัยยูบิด’ ในศตวรรษที่ 12 และ 13 ป้อมปราการสร้างขึ้นจากหินปูนธรรมชาติที่โผล่ขึ้นมาสูงกว่าระดับของที่ราบโดยรอบประมาณ 30 เมตร กำแพงสูง สะพานทางเข้าอันโอ่อ่า และประตูใหญ่ยังคงสภาพสมบูรณ์และตั้งตระหง่านอยู่เหนือเส้นขอบฟ้าของเมือง  ปี 1260 ป้อมปราการถูกโจมตีจากกองทัพมองโกลโดยการนำทัพของ ‘ข่าน ฮูลากู’ Hulagu Khan และได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ก่อนสิ้นศตวรรษที่ 13 ความเสียหายเหล่านี้ได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดยสุลต่าน อัล-แอชราฟ คาลิล แห่งราชวงศ์มัมลุค  ปี 1400 เมืองและป้อมปราการถูกมองโกลยึดครองอีกครั้งภายใต้การนำของ ตีมูร์ (Timur-เป็นขุนศึกที่มีเชื้อสายผสมระหว่างมองโกลและเติร์ก และเป็นผู้พิชิตดินแดนส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง) อาคารเกือบทั้งหมดภายในป้อมปราการถูกทำลาย ในปี 1415 ป้อมปราการอเลปโปได้รับการบูรณะอีกครั้ง  ในช่วงสมัยออตโตมันบทบาททางทหารของป้อมปราการลดลงอย่างช้าๆ ในปี 1521 ป้อมปราการได้รับการบูรณะโดยสุลต่านสุไลมานที่ 1 และป้อมอเลปโปถูกใช้เป็นค่ายทหารสำหรับทหารออตโตมัน ในปี 1822 ป้อมปราการได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากแผ่นดินไหวอีกครั้ง ปี 1850 ป้อมปราการได้รับการบูรณะโดย สุลต่านอัลดุล เมจิดที่ 1 เป็นสุลต่านของจักรวรรดิออตโตมัน   ในช่วงที่อยู่ภายใต้อาณัติของฝรั่งเศสในช่วงแรกของการขุดค้นทางโบราณคดีในศตวรรษที่ 20  มีการขุดพบ…‘วิหารเทพเจ้าแห่งพายุ’ ‘Temple of the Storm God’ เทพโบราณที่ปรากฏตัวในพายุฝนฟ้าคะนองและมีความสำคัญต่อการเกษตร และปรากฏอยู่บนหินแกะสลักที่มีการขุดพบภายในในป้อมปราการแห่งอเลปโป
หินแกะสลักเทพเจ้าแห่งพายุเป็นแสดงถึงการค้นพบทางโบราณคดีที่สำคัญอย่างยิ่ง เป็นหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันมากที่สุดของอเลปโป ทำให้นักโบราณคดีสามารถสำรวจชั้นของเมืองที่ไม่เหมือนใครก่อนหน้านี้ซึ่งตามมาด้วยการตั้งถิ่นฐานอย่างต่อเนื่องในยุคเฮลเลนิสติก, โรมัน, ไบแซนไทน์, ราชวงศ์แซนกิด (Zangid), ราชวงศ์อัยยูบิด (Ayyubid) ราชวงศ์มัมลุค (Mamluks) และออตโตมัน  


The Great Fortresses around the World #33 Tower of London, อังกฤษ – ‘หอคอยแห่งลอนดอน’ ป้อมปราการอายุกว่า 900 ปีใจกลางกรุงลอนดอน หอคอยแห่งลอนดอนเป็นทั้งพระราชวัง ป้อมปราการ และยังเป็นเรือนจำที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป ต้นกำเนิดของหอคอยเริ่มต้นด้วยการรุกรานอังกฤษของนอร์มัน วิลเลียมดยุคแห่งนอร์มังดีได้พบกับกษัตริย์แฮโรลด์ที่สมรภูมิเฮสติงส์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1066 นักรบนอร์แมนได้รับชนะ และวิลเลียมได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์   พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ (William the Conqueror) สร้างหอคอยสีขาวในปี 1066 เพื่อแสดงให้เห็นถึงอำนาจของชาวนอร์มันโดยตั้งอยู่บนแม่น้ำเทมส์ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพื่อทำหน้าที่เป็นทั้งป้อมปราการและประตูสู่เมืองหลวง ถือเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์ที่สุดของพระราชวังและป้อมปราการสมัยศตวรรษที่ 11 ที่ยังหลงเหลืออยู่ในยุโรป หน้าที่ฐานที่มั่นทางทหารของหอคอยนี้ไม่เปลี่ยนแปลงจนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19  ตลอดประวัติศาสตร์หอคอยแห่งนี้มีวัตถุประสงค์หลายประการ เช่น เป็นที่ตั้งของโรงกษาปณ์ โรงละครสัตว์  คลังอาวุธ และค่ายทหาร ตลอดจนเป็นที่ประทับของราชวงศ์จนถึงศตวรรษที่ 17 ปัจจุบันยังเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษามงกุฏเพชรและเครื่องราชาภิเษกของสหราชอาณาจักร  ปี 1240 พระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษได้ปรับปรุงหอคอยขึ้นใหม่อีกครั้งเพื่อใช้เป็นพระราชวัง และเพื่อรับรองแขกคนสำคัญ ในขณะเดียวกันหอคอยแห่งนี้ถูกใช้เพื่อคุมขังนักโทษหลายกลุ่มตั้งแต่กษัตริย์ พระราชินีไปจนถึงอาชญากรทั่วไป เช่น เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดและเจ้าชายริชาร์ด ซึ่งเป็นบุตรของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ซึ่งดูเหมือนทั้งสองพระองค์จะไม่เคยออกจากหอคอยขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เลย3เลดี้ เจนเกรย์ Lady Jane Grey (ราชินีผู้ไร้มงกุฏ) เหลนของพระเจ้าเฮนรี ที่ 7 ซึ่งเป็นราชินีได้เพียง 9 วัน ก่อนที่เธอจะถูกปลดโดย สมเด็จพระราชินีแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ  รวมถึง ‘แอนน์ โบลีน’ Anne Boleyn และ ‘แคเทอริน เฮาเวิร์ด’ Katherine Howard พระมเหสีพระองค์ที่ 2 และองค์ที่ 5 ในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ทั้งคู่ถูกจำคุกและถูกประหารชีวิตในเวลาต่อมา  แม้หอคอยแห่งลอนดอนจะมีชื่อเสียงที่น่ากลัวในฐานะ ‘สถานที่แห่งการทรมาน และความตาย’ แต่ภายในกำแพงเหล่านี้ยังมีประวัติศาสตร์ของพระราชวัง คลังอาวุธ และป้อมปราการที่แข็งแกร่งและทรงพลัง และตัวอย่างของสถาปัตยกรรมทางทหารของชาวนอร์มันซึ่งมีอิทธิพลไปทั่วราชอาณาจักร และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี 1988 

ท่านสามารถดูโปรแกรมทัวร์และรายละเอียดของโปรแกรมนี้ได้ผ่านลิงค์นี้

>>

บทความท่องเที่ยวนี้เป็นบทความให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างประเทศ จัดทำโดย บริษัทวันเวิลด์ทัวร์แอนด์ทราเวลจำกัด อนุญาตให้ใช้เพื่อ การให้ความรู้ การอ้างอิงนำเสนองานทางการวิจัย การศึกษา ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงธุรกิจ หรือ แสวงหากำไร โดยมิได้รับอนุญาต

อ้างอิง วันเวิลด์ทัวร์แอนด์ทราเวลจำกัด. (2564). ตำนานป้อมปราการ. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ตเมื่อวันที่ …….. จากเว็บไซต์ www.oneworldtour.co.th